ลึกที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ “เกษตรก้าวไกลดอทคอม” จึงขออาสาพาทุกท่านไปสัมผัสพูดคุยกับคุณแมวน้อย กะทิ หรือชื่อจริง “ขวัญหทัย นวลตา” เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาหมอ แห่งบ้านหนองผักเฮือด ต.จอมหมอกแก้ว อ.แม่ลาว จ.เชียงราย โทร. 084-4617635
ประวัติของคุณแมวน้อย กะทิ นั้น เรียนจบชั้น ปวส. ปีหน้ากำลังจะเรียนต่อระดับ ปริญญาตรี เคยทำงานเป็นพนักงานบริษัท ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านเอกสารธุรการ
เหตุผลที่ออกมาทำอาชีพเกษตร เพราะเชื่อว่า การเกษตรเป็นอาชีพที่มั่นคง
“เมื่อก่อนตอนยังเป็นพนักงานบริษัทเคยคิดว่าการเกษตรเป็นงานที่หนัก แถมรายได้น้อยไม่คุ้มกับการลงทุน แต่พอมาตอนนี้ได้ลองมือทำเอง อาชีพเกษตรกรไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดเลย เพราะหนูจะทำตามรอยพ่อหลวงคือทำเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกทุกๆอย่างที่เราชอบ เหลือกินเราก็ยังขายได้ แล้วเรายังได้สุขภาพอีก และอีกอย่างหนูคิดว่า เริ่มทำตั้งแต่อายุ 32 ปียังจะช้าไปด้วยซ้ำ เพราะถ้าเราทำตั้งแต่อายุน้อยๆ อีก 10 ปีข้างหน้าผลผลิตของเราก็จะอยู่ตัว เราจะเริ่มได้เก็บเกี่ยวผลผลิตของเราได้สบายๆ แต่ถ้าเราเริ่มทำตอนอายุ 60 แล้วเราจะได้เก็บหรือค่ะ ทุกอย่างต้องใช้เวลาดูแลรักษา เราเหนื่อยวันนี้ แต่ในอนาคตหนูเชื่อว่าการเกษตรเป็นอาชีพที่มั่นคง…เวลานี้บอกได้เลยว่ารักและภูมิใจในอาชีพนี้ค่ะ เวลาไปไหนจะมีคนถามว่าตอนนี้ทำงานอะไร จะตอบแบบไม่อายว่า หนูทำงานเกษตรค่ะ”
เกษตรผสมผสานหรือไร่นาสวนผสมที่ทำคือ การปลูกกล้วยน้ำว้าเป็นหลัก ปีก่อนปลูก จำนวน 3 ไร่ และปีนี้เพิ่มอีก จำนวน 3 ไร่ เป็น 6 ไร่ และพืชผลอย่างอื่น เช่น มะม่วง มะพร้าวน้ำหอม กระท้อน ฝรั่ง ฯลฯ ปลูกอย่างละ 5 ต้น 10 ต้น รวมทั้งแตงโมที่เก็บผลิตได้ไว
โดยเธอนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากแฟนที่เป็นคนต่างชาติ “เค้าชอบการเกษตรของไทย บวกกับหนูมีที่ดินอยู่แล้ว 3แปลง ทั้งหมดประมาณ 15 ไร่ และไม่ได้ทำอะไรให้เค้าเช่าทำสวนอย่างเดียว เค้าเลยแนะนำให้ลองทำเกษตรแบบผสมผสานดู ตอนแรกคิดว่าจะเลี้ยงปลานิลบ่อเดียว แต่มีเพื่อนแนะนำว่าปลาหมอเลี้ยงง่ายโตเร็ว และราคาดี ก็เลยทดลองเลี้ยง ปลาหมออีกหนึ่งบ่อค่ะ”
นี่ละ คือบ่อเลี้ยงปลาหมอ
“ขนาดของบ่อเป็นบ่อดินเนื้อที่ประมาณ 100 ตารางเมตร ทั้งหมด 2 บ่อค่ะ เป็นบ่อที่ขุดใหม่ ช่วงเดือนเมษายน บ่อปลานิลขุดได้ 1เดือน ก็เริ่มเอาปลานิลลงบ่อ ส่วนบ่อปลาหมอ ขุดได้ 1 วัน เอาน้ำใส่ พอน้ำอยู่ในระดับ 1.5 เมตร ก็เอาปลาหมอมาลงเลยค่ะ”
เรื่องน้ำและพันธุ์ปลา นับเป็นปัจจัยสำคัญที่สำคัญ “น้ำที่ใช้เป็นน้ำลำห้วยตามธรรมชาติ เป็นบ่อที่น้ำไหลเวียนตลอดค่ะ ส่วนพันธุ์ปลาซื้อมาจาก ฟาร์มวัฒนาปลาหมอ อำเภอพาน เชียงรายค่ะ”
“ซื้อมาลงทั้งหมด 5,000 ตัว ในราคาตัวละ 90 สตางค์ ตัวขนาดเม็ดฟักทอง ไม่ตายแม้แต่ตัวเดียว ทนสุดๆค่ะ”
เลี้ยงมาั้งแต่ปลาหมอยังตัวเล็กขนาดนี้ค่ะ
เรื่องต่อมาคืออาหารปลา…จะมีการให้อาหาร ให้วันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะแรก ใช้อาหารลูกอ๊อด โปรตีนไม่ต่ำกว่า 37% จำนวน 5,000 ตัว ใช้อาหาร 1 กระสอบได้ประมาณ 1 เดือน กระสอบละ 900 บาท
ระยะที่ 2 ใช้อาหารปลาดุกเม็ดเล็ก โปรตีนไม่ต่ำกว่า 32% ใช้ไป 2 กระสอบ ต่อ 1 เดือน พอเข้าเดือนที่ 2 ปลาเริ่มโต ใช้อาหารปลาดุกเม็ดกลาง โปรตีนไม่ต่ำกว่า 30% ถึงปัจจุบัน เลี้ยงได้ 2 เดือนครึ่ง
“ช่วงนี้เป็นช่วงที่ปลากินอาหารจุมาก ๆ หนึ่งกระสอบ ได้แค่ 3 วัน ตอนนี้รวมแล้ว 2 เดือนครึ่ง ใช้อาหารไปทั้งหมด 9กระสอบ คิดเป็นเงินประมาณ 4,500 บาท จะต้องเลี้ยงไปอีก 2 เดือน ถึงจะได้ขนาดตามไซด์ที่เค้าประกันราคาไว้คือ 4-5 ตัวต่อกิโลกรัม เค้าให้ราคา 80 บาท แต่ถ้า 6-10 ตัวเค้าให้ราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม”
ถามว่าจากค่าต้นทุนอาหารทั้งหมด คิดว่าผลตอบแทน(กำไร) จะคุ้มกันไหม ก็ได้รับคำตอบว่า
“ต้นทุนอาหาร…ถ้าเลี้ยง 5,000 ตัว จะต้องใช้อาหารจำนวน 30 กระสอบ โดยเฉลี่ยแล้วต้นทุนค่าอาหารจะหมดประมาณ 13,500 บาท จึงจะได้ไซด์ปลาตามที่เค้ารับซื้อ”
ที่นี้ ถ้ารวมในเรื่องต้นทุนค่าลูกพันธุ์ปลา จะได้ดังนี้
“ต้นทุนทั้งหมดน่าจะคิดได้ดังนี้ค่ะ …ค่าอาหาร 13,500 บาท ค่าลูกปลา 4,500 บาท รวมๆแล้วประมาณ 18,000บาท เลี้ยงในระยะ 4 เดือน 20 วัน เพราะ 4 เดือน ปลายังไซด์ไม่เท่ากัน เราจึงต้องเลี้ยงไปอีก 20 วันเพื่อให้ได้ไซด์เท่าๆกันค่ะ”
นี่คือสมุดบันทึกต้นทุกค่าใช้จ่ายต่างๆค่ะ
สรุป เรื่องผลตอบแทน หรือกำไร ที่คิดว่าจะได้
“เวลาเอาปลาออกขาย 5,000 ตัว ถ้าโดยเฉลี่ย 5 ตัวต่อกิโลกรัม จะได้น้ำหนักทั้งหมดประมาณ 1,000 กิโลกรัม x 80 บาท จะได้เงินทั้งหมดประมาณ 80,000 บาท แต่หนูคิดว่ามันมากเกินไป หนูขอเหลือสัก 500 กิโลกรัม ก็คุ้มแล้วค่ะ”
ฟังดูแล้ว การเลี้ยงปลาหมอครั้งแรกของคุณแมวน้อย กะทิ รู้สึกว่าไม่ยากเลย
“เลี้ยงปลาหมอไม่ได้ยากอะไรเลยค่ะ ขอแค่เราทำตามที่เค้าแนะนำและใส่ใจดูแล การให้อาหารต้องไม่ยั้งอาหารไม่งั้นปลาจะโตช้า”
“อย่างไรก็ดีทดลองเลี้ยงครั้งแรกค่ะ ความรู้ก็ไม่เยอะเท่าไหร่ เราจะศึกษาจากพฤติกรรมของปลาที่เราเลี้ยง แล้วเราก็จดบันทึกไว้บ้าง เผื่อเลี้ยงครั้งต่อไปจะได้เอาข้อมูลมาเปรียบเทียบกันค่ะ”
มีอะไรที่จะเป็นข้อคิดอีกไหมครับ
“เรื่องอื่นๆ ที่ต้องระวังและดูแลก็ไม่มาก เพราะปลาหมอเป็นปลาที่ทนต่อสภาพอากาศ หรือสภาพน้ำอยู่แล้ว แทบจะไม่ต้องดูแลอะไรมาก แต่ที่ต้องระวังคือเราต้องล้อมตาข่ายด้วย เพราะปลาหมอเป็นปลาที่ชอบปีนป่ายค่ะ”
ทั้งหมดนี้ เป็นมุมมองของเกษตรกรคนรุ่นใหม่ที่ได้ประสบการณ์จากการลงมือปฎิบัติจริงและดูเหมือนว่าไปได้ดี แต่ในความเป็นจริง อาจจะยังมีปัญหาต่างๆ ให้แก้ไข และแน่นอนว่าหากเจอปัญหาใดๆก็พร้อมที่จะแก้ไข เพื่อที่จะเดินหน้าต่อไป
ที่มา : http://meesarajaa.com